กลุ่ม SCBX ยังให้ความสนับสนุนทางการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
นอกเหนือจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงาน กลุ่ม SCBX ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 3 – Indirect Emissions) หรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการสนับสนุนทางการเงินให้กับลูกค้า (Financed Emissions) ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 80 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ผ่านการออกแบบและนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม
ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการสนับสนุนทางการเงินให้กับลูกค้าในกรณีฐาน (Financed Emissions Baseline) ที่จะนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero เมื่อต้นปี 2565 SCBX จึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Partnership for Carbon Accounting Financials หรือ PCAF เพื่อนำมาตรฐานสากลในการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกสำหรับอุตสาหกรรมการเงินมาใช้ในการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร โดย SCBX อยู่ระหว่างการจัดทำกลยุทธ์และแผนงานระยะยาวในการบริหารจัดการพอร์ตโฟลิโอและการช่วยเหลือลูกค้าสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero ร่วมกันต่อไป
ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน
ด้วยความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ประกอบกับพลังงานหมุนเวียนเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ SCBX จึงให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคมาอย่างต่อเนื่อง
สนับสนุนสินเชื่อและหุ้นกู้สีเขียว
ด้วยความมุ่งมั่นในการผลักดันประเทศก้าวสู่เศรษฐกิจ-สังคมคาร์บอนต่ำ กลุ่ม SCBX โดยธนาคารไทยพาณิชย์จึงส่งเสริมสินเชื่อ สีเขียวให้กับกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SME) และกลุ่มลูกค้าบุคคลมาอย่างต่อเนื่อง
สนับสนุนตลาดการเงินไทย
ขณะเดียวกัน ยังสนับสนุนตลาดการเงินไทยผ่านการให้บริการการจัดจำหน่ายตราสารหนี้สีเขียวหรือกรีนบอนด์ตามมาตรฐานสากล ได้แก่ Green Bond Principles ซึ่งกำหนดโดย ICMA และ ASEAN Green Bond Standards ซึ่งกำหนดโดย ACMF
ผลักดันการลงทุนเพื่อความยั่งยืน
SCBCLEAN
มุ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านพลังงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนของโลก
1. Decarbonization การใช้พลังงานที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
2. Digitalization การใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
3. Decentralization การกระจายการใช้พลังงานผ่านโครงสร้างพื้นฐานและระบบจัดเก็บ
SCBGEESG
มุ่งเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการที่ได้รับการพิจารณาโดยผู้จัดการการลงทุนว่ามีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมหรือสังคมในเชิงบวกและส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลกที่ยั่งยืน
กองทุนจะหาโอกาสการลงทุนใน 10 ประเด็น
1.พลังงานสะอาด
2.ประสิทธิภาพ
3.บริการด้านสิ่งแวดล้อม
4.การขนส่งที่ยั่งยืน
5.การจัดการทรัพยากรน้ำ
6.ความรู้และเทคโนโลยี
7.สุขภาพ
8.ความปลอดภัย
9.การเงินและสินทรัพย์ที่ยั่งยืน
10.คุณภาพชีวิต