การประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญในรูปแบบ

Double Materiality และมูลค่าผลกระทบทางธุรกิจ

การประเมิน Double Materiality และมูลค่าผลกระทบทางธุรกิจ

เส้นทางความยั่งยืนของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ ‘ผลกระทบ’ ของการดำเนินธุรกิจต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาผลกระทบเชิงลบและบวก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ครอบคลุมทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยกระบวนการประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ดำเนินการตามมาตรฐาน Global Reporting Initiative (GRI) Standards อีกทั้งยังบูรณาการแนวคิด Double Materiality  ซึ่งนำเสนอโดย  The European Commission ในกระบวนการประเมินปี 2567 ด้วย

สำหรับการประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญในรูปแบบ Double Materiality มิได้พิจารณาเพียง ‘ผลกระทบ’ จากกิจกรรมทางธุรกิจของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเท่านั้น (‘Inside-Out’ หรือ ‘impact Materiality’) หากยังพิจารณา ‘ผลกระทบ’ จากประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนต่อมิติด้านการเงินของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์  (‘Outside-In’  หรือ ‘Financial Materiality’) ซึ่งเป็นแนวทางที่ช่วยให้บริษัทมองเห็นภาพรวมความเสี่ยงทั้งทางการเงินและที่ไม่ใช่ทางการเงิน เพิ่มความโปร่งใสและความรับผิดชอบ ตลอดจนเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นการปรับโมเดลธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืน และดึงดูดนักลงทุนและลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับด้าน ESG

ทั้งนี้ ผลจากการประเมิน เอสซีบี เอกซ์ สามารถระบุประเด็น ESG ที่มีนัยสำคัญได้ทั้งหมด 15 ประเด็น โดยมี 2 ประเด็นใหม่ที่ถูกนำเสนอเพิ่มเติม ซึ่งเอสซีบี เอกซ์ จะทบทวนและพัฒนากรอบยุทธศาสตร์ความยั่งยืนโดยพิจารณาประเด็นที่มีนัยสำคัญจากผลการประเมินล่าสุด พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนความยั่งยืนอย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงุสุดทั่วทั้งกลุ่มเอสซีบี เอกซ์

กระบวนการประเมิน Double Materiality

วิเคราะห์ประเด็นความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ร่วมกับการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียง

วิเคราะห์ประเด็นที่สำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน หน่วยงานกำกับดูแล นักลงทุน  คู่ธุรกิจ คู่ค้า และภาคประชาสังคม ครอบคลุมผลกระทบที่เกิดขึ้นและที่อาจเกิดขึ้น ผลกระทบเชิงบวกและลบ รวมถึงความเสี่ยงและโอกาส ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

วิเคราะห์ความสอดคล้องของกรอบการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กรและทิศทางกลยุทธ์ของเอสซีบี เอกซ์ เพื่อเข้าใจถึงความสำคัญ ความรุนแรง โอกาสที่จะเกิด  ตลอดจนระดับและขอบเขตของผลกระทบ ความเสี่ยง และโอกาส

ประเมินและจัดลำดับความสำคัญของประเด็น ESG โดยพิจารณาทั้งมิติ  ‘Impact Materiality’ และ ‘Financial Materiality’ พร้อมนำผลการประเมินให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบให้ความคิดเห็นและคณะกรรมการบริษัท และ/หรือ ผู้บริหารระดับสูงอนุมัติ

ผลการประเมินประเด็นด้าน ESG ที่มีนัยสำคัญ

หมายเหตุ:
* ประเด็นทั้งหมดจัดเรียงตามตัวอักษร  มิใช่ตามลำดับความสำคัญ

การรับรองโดยหน่วยงานภายนอก

เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการประเมินประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ สอดคล้อง ครบถ้วน และถูกต้องตามมาตรฐาน Global Reporting Initiative (GRI) รวมถึงแนวคิด Double Materiality ซึ่งนำเสนอโดย The European Commission เอสซีบี เอกซ์ จึงได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานตรวจรับรองภายนอกเพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระสำหรับกระบวนการประเมินประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ

การประเมินมูลค่าผลกระทบทางธุรกิจ (Impact Valuation)

การประเมินมูลค่าผลกระทบทางธุรกิจช่วยให้องค์กรเข้าใจและจัดการผลกระทบจากการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่สร้างคุณค่าให้กับทุกภาคส่วน ไม่เพียงเฉพาะผู้ถือหุ้นเท่านั้น โดยการประเมินมูลค่าผลกระทบทางธุรกิจได้รับความสนใจมากขึ้นในยุคแห่งทุนนิยมผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Capitalism) ด้วยเล็งเห็นว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ ควบคู่ไปกับการจัดการความท้าทายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

สำหรับกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ การประเมินมูลค่าผลกระทบทางธุรกิจนำมาซึ่งข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการผลกระทบเชิงลบ พร้อมแสวงหาโอกาสในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน ยังช่วยเสริมสร้างความสามารถของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ในการรับมือกับความท้าทายสู่การปรับตัวได้อย่างเท่าทันด้วย

Explore
Sustainability

ทำความรู้จัก ความยั่งยืน

Explore
Sustainability

get to know sustainability

  • เส้นทางความยั่งยืน

  • นโยบายความยั่งยืน

  • เมล็ดพันธุ์ดิจิทัล

  • สังคมแห่งโอกาส

  • เศรษฐกิจเพื่ออนาคต

  • สภาพภูมิอากาศที่ยั่งยืน

  • รากฐานความยั่งยืนที่แข็งแรง

  • ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูล