นอกเหนือจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงาน กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 3 – Indirect Emissions) หรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการสนับสนุนทางการเงินให้กับลูกค้า (Financed Emissions) ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 80 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดผ่านการออกแบบและนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม
เอสซีบี เอกซ์ ริเริ่มจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก (GHG Accounting) ตามมาตรฐาน Partnership for Carbon Accounting Financials (PCAF) เพื่อให้ทราบถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกในกรณีฐานจากการสนับสนุนทางการเงินให้กับลูกค้า (Financed Emissions Baseline) โดยอยู่ระหว่างการวิเคราะห์วางแผนจัดทำ Net Zero Roadmap เพื่อการบริหารจัดการพอร์ตโฟลิโอและสนับสนุนลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำและบรรลุเป้าหมาย Net Zero ร่วมกันได้ต่อไป
นอกเหนือจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงาน กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 3 – Indirect Emissions) หรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการสนับสนุนทางการเงินให้กับลูกค้า (Financed Emissions) ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 80 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดผ่านการออกแบบและนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม
เอสซีบี เอกซ์ ริเริ่มจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก (GHG accounting) ตามมาตรฐาน Partnership for Carbon Accounting Financials (PCAF) เพื่อให้ทราบถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกในกรณีฐานจากการสนับสนุนทางการเงินให้กับลูกค้า (Financed Emissions Baseline) โดยอยู่ระหว่างการวิเคราะห์วางแผนจัดทำ Net Zero Roadmap เพื่อการบริหารจัดการพอร์ตโฟลิโอและสนับสนุนลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำและบรรลุเป้าหมาย Net Zero ร่วมกันได้ต่อไป
สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
Scope 3 (Financed Emissions)
แนวทางทางสนับสนุนการเงินด้านพลังงาน
กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ตระหนักดีว่าพลังงานมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ขณะเดียวกัน พลังงานที่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาของการเกิดก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับต้น ๆ ที่ส่งผลให้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ โดยธนาคารไทยพาณิชย์จึงได้กำหนดแนวทางการสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิล (Statement on Fossil Fuel Financing) ซึ่งเบื้องต้นครอบคลุม 2 อุตสาหกรรมที่มีผลกระทบสูง ได้แก่ ถ่านหิน (Coal) และน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกเหนือรูปแบบทั่วไป (Unconventional Oil & Gas Financing)
นอกจากนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ยังใช้เครื่องมือทางการเงินในหลายรูปแบบสนับสนุนทางการเงินให้แก่ลูกค้าและโครงการที่มุ่งบรรเทาผลกระทบหรือปรับตัวรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย
ในปี 2565 สนับสนุนการเงิน
เพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนรวมกว่า
116,906
ล้านบาท
ส่งเสริมพลังงาน
หมุนเวียน
ด้วยความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ประกอบกับพลังงานหมุนเวียนเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ จึงให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคมาอย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน
ด้วยความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ประกอบกับพลังงานหมุนเวียนเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ กลุ่ม SCBX จึงให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคมาอย่างต่อเนื่อง
โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
กลุ่ม SCBX โดยธนาคารไทยพาณิชย์ได้ให้การสนับสนุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยเทคโนโลยีโฟโตโวลตาอิกในประเทศเวียดนาม ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวมทุกโครงการอยู่ที่ 100 เมกะวัตต์
โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม
กลุ่ม SCBX โดยธนาคารไทยพาณิชย์สนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม กำลังการผลิตติดตั้งรวมกว่า 120 เมกะวัตต์
โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
ด้วยความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ประกอบกับพลังงานหมุนเวียนเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ กลุ่ม SCBX โดยธนาคารไทยพาณิชย์ จึงให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคมาอย่างต่อเนื่อง