SCBX สนับสนุน
‘การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ’
SCBX เชื่อว่าการพิจารณาประเด็นที่มีนัยสำคัญด้าน ESG ในกระบวนการการลงทุนสามารถนำไปสู่การตัดสินใจด้านการให้คำแนะนำการลงทุนกับลูกค้าที่ดีขึ้นและช่วยเพิ่มผลตอบแทนที่มีการปรับค่าความเสี่ยง (Risk-adjusted Return) ในระยะยาว ขณะเดียวกันยังเป็นการร่วมป้องกันและบรรเทาผลกระทบเชิงลบ ตลอดจนเสริมสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมด้วย
ลูกค้าบุคคล
ธนาคารไทยพาณิชย์กำหนดให้กระบวนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อบุคคลคำนึงถึงภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ควบคู่ไปกับการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ (Affordability) และค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ (Living Expense) นอกเหนือจากการพิจารณารายรับและความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกค้าเพื่อให้ธนาคารสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เหมาะสมและไม่กระทบต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกค้าแต่ละราย
ลูกค้าธุรกิจหรือโครงการขนาดใหญ่
ธนาคารบูรณาการประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในแนวนโยบายสินเชื่อ (Credit Policy Guide) รวมถึงกำหนดรายการสินเชื่อต้องห้าม (Exclusion List) และแนวปฏิบัติในการพิจารณาให้สินเชื่อสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ นอกจากนี้ ยังได้นำหลักการอีเควเตอร์ (Equator Principles) และแนวปฏิบัติของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporate: IFC) มาประยุกต์ใช้อีกด้วย
สำหรับการปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ ธนาคารได้ผนวกประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้าในกระบวนการพิจารณาสินเชื่อโครงการทั้งระบบตั้งแต่การสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจกับลูกค้า ระบบงานการขาย และระบบงานการวิเคราะห์สินเชื่อ ตลอดจนจัดทำคู่มือการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมสำหรับสินเชื่อโครงการ พร้อมทั้งสื่อสารให้พนักงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและปฏิบัติตาม
SCBX
สนับสนุน
‘การให้สินเชื่อ
อย่างรับผิดชอบ’
SCBX เชื่อว่าการพิจารณาประเด็นที่มีนัยสำคัญด้าน ESG ในกระบวนการการลงทุนสามารถนำไปสู่การตัดสินใจด้านการให้คำแนะนำการลงทุนกับลูกค้าที่ดีขึ้นและช่วยเพิ่มผลตอบแทนที่มีการปรับค่าความเสี่ยง (Risk-adjusted Return) ในระยะยาว ขณะเดียวกันยังเป็นการร่วมป้องกันและบรรเทาผลกระทบเชิงลบ ตลอดจนเสริมสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมด้วย
ลูกค้าบุคคล
ธนาคารไทยพาณิชย์กำหนดให้กระบวนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อบุคคลคำนึงถึงภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ควบคู่ไปกับการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ (Affordability) และค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ (Living Expense) นอกเหนือจากการพิจารณารายรับและความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกค้าเพื่อให้ธนาคารสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เหมาะสมและไม่กระทบต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกค้าแต่ละราย
ลูกค้าธุรกิจหรือโครงการขนาดใหญ่
ธนาคารบูรณาการประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในแนวนโยบายสินเชื่อ (Credit Policy Guide) รวมถึงกำหนดรายการสินเชื่อต้องห้าม (Exclusion List) และแนวปฏิบัติในการพิจารณาให้สินเชื่อสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ นอกจากนี้ ยังได้นำหลักการอีเควเตอร์ (Equator Principles) และแนวปฏิบัติของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporate: IFC) มาประยุกต์ใช้อีกด้วย
สำหรับการปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ ธนาคารได้ผนวกประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้าในกระบวนการพิจารณาสินเชื่อโครงการทั้งระบบตั้งแต่การสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจกับลูกค้า ระบบงานการขาย และระบบงานการวิเคราะห์สินเชื่อ ตลอดจนจัดทำคู่มือการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมสำหรับสินเชื่อโครงการ พร้อมทั้งสื่อสารให้พนักงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและปฏิบัติตาม
เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมอีเควเตอร์
ยกระดับการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ
ด้วยเชื่อว่าภาคการเงินการธนาคารสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนได้ ธนาคารจึงมุ่งมั่นเสริมสร้าง ‘การให้สินเชื่ออย่างยั่งยืน’ ซึ่งหนึ่งในภารกิจสำคัญ คือ ‘การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ’ สอดคล้องตามแนวทางการดำเนินการธนาคารอย่างยั่งยืนในด้านการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Sustainable Banking Guideline – Responsible Lending) ของธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยการบูรณาการปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคมธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance: ESG) ในนโยบายและกลยุทธ์การให้สินเชื่อ ตลอดจนกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดจากการให้สินเชื่อของธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อโครงการ (Project Finance) สำหรับโครงการพื้นฐาน โครงการเหมืองแร่ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีนัยสำคัญหากขาดการบริหารจัดการที่เหมาะสม
เพื่อร่วมยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการเงินไทยและเพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารได้ให้การสนับสนุนโครงการที่มีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เหมาะสมกับลักษณะและระดับความเสี่ยงของโครงการนั้น ธนาคารจึงตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมอีเควเตอร์ (The Equator Priciples Association: EP) เพื่อนำหลักการ EP 10 ประการ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าด้วยเรื่องการบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมสำหรับสถาบันการเงินใน การสนับสนุนสินเชื่อโครงการมาใช้เป็นกรอบแนวทางในการระบุ ประเมิน และบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างเป็นระบบในกระบวนการพิจารณาสินเชื่อโครงการขนาดใหญ่ของธนาคาร
ยึดมั่นหลักการ EPs 10 ประการ เพื่อการบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างเป็นระบบสำหรับสินเชื่อโครงการขนาดใหญ่
เข้าร่วมเป็น
สมาชิกสมาคม
อีเควเตอร์
ยกระดับการให้
สินเชื่ออย่าง
รับผิดชอบ
ด้วยเชื่อว่าภาคการเงินการธนาคารสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนได้ ธนาคารจึงมุ่งมั่นเสริมสร้าง “การให้สินเชื่ออย่างยั่งยืน” ซึ่งหนึ่งในภารกิจสำคัญ คือ “การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ” สอดคล้องตามแนวทางการดำเนินการธนาคารอย่างยั่งยืนในด้านการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Sustainable Banking Guideline – Responsible Lending) ของธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยการบูรณาการปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคมธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ในนโยบายและกลยุทธ์การให้สินเชื่อ ตลอดจนกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดจากการให้สินเชื่อของธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อโครงการ (Project Finance) สำหรับโครงการพื้นฐาน โครงการเหมืองแร่ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีนัยสำคัญหากขาดการบริหารจัดการที่เหมาะสม
เพื่อร่วมยกระดับมารตฐานอุตสาหกรรมการเงินไทยและเพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารได้ให้การสนับสนุนโครงการที่มีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เหมาะสมกับลักษณะและระดับความเสี่ยงของโครงการนั้น ธนาคารจึงตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมอีเคสเตอร์ (The Equator Priciples Association: EP) เพื่อนำหลักการ EP 10 ประการ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าด้วยเรื่องการบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมสำหรับสถาบันการเงินในการสนับสนุนสินเชื่อโครงการมาใช้เป็นกรอบแนวทางในการระบุ ประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างเป็นระบบในกระบวนการพิจารณาสินเชื่อโครงการขนาดใหญ่ของธนาคาร
ยึดมั่นหลักการ EPs 10 ประการ เพื่อการบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างเป็นระบบสำหรับสินเชื่อโครงการขนาดใหญ่
ธนาคารเชื่อว่าการพัฒนาแนวนโยบายและกระบวนการพิจารณาสินเชื่อของธนาคารตามหลักการของ EP ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของบริษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation – IFC) และเป็นที่ยอมรับของธนาคารโลก (World Bank) รวมถึงสถาบันการเงินชั้นนำทั่วโลก ไม่เพียงช่วยลูกค้าให้มีการบริหารจัดการผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนจากการพัฒนาโครงการอย่างเป็นระบบ หากยังช่วยให้ธนาคารมีกลไกในการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมสำหรับการประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ติดตามการดำเนินงานสำหรับโครงการที่มีความเสี่ยงสูง ตลอดจนกำหนดการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวเป็นข้อกำหนดในสัญญาเงินกู้อีกด้วย
ก้าวแห่งการมุ่งสู่การเป็น Equator Principles Financial Institution (EPFI)
การปฏิบัติตาม
หลักการ EPs
ธนาคารบูรณาการหลักการ EPs เข้าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายและกระบวนการพิจารณาให้สินเชื่อของธนาคาร ควบคู่ไปกับสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจ Wholesale กลุ่มธุรกิจ SME กลุ่มงานสินเชื่อ กลุ่มงานบริหารความเสี่ยง และกลุ่มงานยุทธศาสตร์องค์กร (หน่วยงานความยั่งยืนองค์กร) ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจากภายนอก ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยในปี 2564 ธนาคารได้พัฒนาคู่มือและเครื่องมือการทำงานพร้อมจัดฝึกอบรมให้ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องมากกว่า 300 คน ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการนำหลักการ EPs ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งแบ่งเนื้อหาการอบรมออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
1. มาตรฐาน International Finance Corporation Performance Standard เพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการประเภทต่าง ๆ ตลอดจนแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ ที่สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานของบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ หรือ International Finance Corporation (IFC) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับสากล
2. หลักการ EPs เพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และข้อกำหนดในการปฏิบัติตามหลักการ 10 ประการ ตลอดจนบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานในการปฏิบัติตามหลักการ EPs